เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป  


 
 
เมนูสำหรับลูกค้า
 
เมนูสำหรับผู้ประกอบการ
 
ฝ่ายบริการลูกค้า
จันทร์-ศุกร์  09.30 - 15.00 น.

ยืนยันการโอนเงินและการเปิดเว็บไซต์
โทร 0878334416 หรือ 084-634-3454

ปัญหาการใช้งานเว็บไซต์
โทร 08-9887-8972 
 
E-mail Support  
[email protected]

.


เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป

ค้นหา
เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป
เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป


 

บทกวีที่ริมน้ำพระปรง

I ภรรยา4คน   I รักแท้ไม่แปลฝัน   I บันไดรัก   I คุณยายขายมาลัย   I ช้อนยาว 1 เมตร   I พระคุณแม่   I เนื้อคู่   I วิธีป้องกันโรคหวัด   I โอลิมปิกไทย   I เสียงเรียกจากใจ   I อบรมประสบการณ์   I บรรยากาศวันอบรม   I ความหวังไม่ห่างไกล   I ถอนมันหนีน้ำ   I วอลเลย์บอลชายหาด   I เปิบมือ   I นาล่ม   I นางตานี   I พบเธอที่ มสธ. I เติมฝันวันที่รอ  I ท่องไพรในใจเธอ  I ตักบาครดาวดึงส์ I 23 ตุลาคม วันปิยะ  I ดอกไม้ในไร่ฝัน  I คิดถึง  I บ้านเรา  I ปางสีดา  I น้ำผึ่งขม  I เพือนเหงาเพื่อนเงา  I ยิ้มทักทายเจ้าดอกไม้ I ฝ่าสายลมหนาว I รังรักรังร้าง  I ยามเย็น  I เพียงฝัน  I แห้ว  I สวัสดีปีใหม่  I สาวสมิง  I ต้นกล้าชุมชน  I วาเลนไทน์  I สงกรานต์  I ปราชญ์ชาวบ้าน   I ไม้ดอกออกผล  I คำว่ารัก  I ป่าสวยน้ำใส I อะไรเอย  I วันนี้วันพระ I เขียนไว้บนแผ่นฟ้า I รักซ่อนแอบ I หนุ่มมะเดื่อสาวมะดัน I วันที่เรียกว่าแม่ I สวนอักษร l กายะนคร I คืนวันลอยกระทง I ตะวันอ้อมข้าว I ในอ้อมกอดของสายหมอก I ณ.อรุณวันใหม่ I ฝนหลงฤดู I ดอกไม้มีนา I ไหว้พระร้อยวัด I ชวนคนรักเลิกเหล้า I ตลาดน้ำสี่ภาค I ทะเล I สมุนไพรไทย I ตักบาตรข้าวสาร I ข้าวกระยาสารท I กฐิน I พญานาค I รำไทย I เกาะกูด I ในอ้อมกอดของต้นไม้  ให้เหล้าเท่ากับแช่ง  I  ปลาอโรวาน่า  I ปีกระต่าย I เรือ  I ถ่าน หิ่งห้อยอึ่งอ่างกะลา  I  ฝนกรด  I  โลกร้อน  I  มหัศจรรย์  I  วันครู  I  จักรยาน  I  เจ้าพ่อพระปรง  อาบจันทร์  I  หารายได้  I  สองพี่น้องแบ่งของ  I  ฮูลาฮุบ  I  หมอลำหมอแคน  I  สบายดี  l เขื่อนอุบลรัตน์  I  ริมโขง  I  ไหว้พระชมตลาดที่หนองคาย  I  จ่าดำ  I  มาฆบูชา  I  ทรัพย์  I  ซีพียู  I  มีนัดกับหมอ  I  อุ้มบุญอุ้มบาป  I  ธนาคารโรค  I  บ่อทอง  I  เออเรอ  I  ความจริงของชีวิต  I  เดือนสามฤดู  I  ความฝันของปราชญ์  I  หนาวมีนา  I  หนาวท้าโสด  I  น้ำตกน้ำโตน  I  มนต์พิษ  I  เขียนรัก สงครามสุรา  I  ฝนเมษา  I  วิศวกรตัวน้อย  I  เราอาศัยโลกโรคอาศัยเรา อาหารหลักอาหารเสริม  I  ลูกเป็ดตัวสุดท้าย  I  ป่าผืนสุดท้าย  I  ตัวเมียหมด  I  สระมรกต  I  ทำบุญกลางบ้าน  I  กระบือ  I  ศ.ศาลาเงียบเหงา  I  วันเกิด  I  สัตว์ประเสริฐ  I  พายุ  I  เมนูดิรัจฉาน  I  รุ้งกินน้ำ  I  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยเงิน  I  ความมืด  I สองเราเพื่อนกัน  I  สำเนาชีวิต  I  ฆาตกรการผลิต  I  ความสุข I คืนฝนตก I ทุกข์ที่ไหนดับที่นั่น I ลมพัดพา นิติธรรม  I กะละมังแลกหมา I ทางน้ำ I น้ำ I แมงมุม I ความฝันไม่มีวันหมดอายุ  I จิตเดิมจิตแท้ I แผลเป็น I เหลือน้อย I บาดเจ็บ I อ่อนแอ I ลูกบางประกง I ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ I คลองสิบสี่ I พญานาคราช I บั้งไฟพญานาค I พระแก้วนิลกาฬ I ดอกไม้ในสายหมอก I กระเช้าสีดา I รอเรือพายไป I กระท่อมปลายนา I น้ำท้วม I ดอกหญ้าหน้าหนาว I ข้าวตั้งท้อง I จำปา I ดอกไม้ชายทุ่ง I ตลาดน้ำ I เมฆเหงาเงาใจ I บั้งไฟพญานาคป๕๕ I พระจันทร์ยามรุ่ง I เงาไม้ I ดอกไม้ริมทาง I คนดูสัตว์สัตว์มองคน I ท่องยุทธภพ I บ.ใบไม้ทับถม I รุ้งหลังฝน I ไปวัด I กฐิน๒๕๕๕ ป่าไม้ท้ายทุ่ง I ฟ้าอุทิศ I ฟ้าแต่งแต้มดิน I ใต้ม่านเมฆ I ขอบฟ้าฝั่งฝัน I เงาไม้ I พญานาคจำศีล I มะระขี้นก I ปอปลาตากลม I พญานาคพิทักษ์ะรรม I คอควายเข้านา I บัวตูมบัวบาน I ไหลสระแก้ว สงกรานต์๕๖ I เทพธิดานางไม้ I มรรคมีองค์แปด I ข้าวยาคู I เหตุเกิดแผ่นดินไหว 8 ประการ IIIII

 

บทกลอน


      "กลอน" คือ ลักษณะคำประพันธ์ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ มีสัมผัสกันตามลักษณะบัญญัติเป็นชนิดๆแต่ไม่มีบังคับ เอก โท และ ครุ ลหุ และนี่ก็คือความหมายของ กลอน กลอน ก็แบ่งเป็นหลายประเภท ตามความนึกคิดและอารมณ์ของผู้ที่คิดประพันธ์ กลอน ออกมา


1. กลอนสุภาพ คือ กลอนที่ใช้ถ้อยคําและทํานองเรียบๆง่ายๆต่อการแต่ง แบ่ง เป็น กลอน 6 กลอน 7 กลอน 8 และ กลอน 9 ตามจํานวนคําในวรรค กลอน กลอนสุภาพนับเป็นกลอนหลักของกลอนชนิดอื่นๆได้ ถ้าเข้าใจลักษณะของกลอน สุภาพเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจกลอนอื่นๆได้ เพราะกลอนที่มีชื่อเรียก ต่างๆ นั้นล้วนยักเยื้องวิธีไปจากกลอนสุภาพทั้งสี้น


2. กลอนขับร้อง หรือ กลอนลํานํา ใช้ขับร้องหรือสวดที่มีทํานองต่างๆกัน แบ่งเป็นกลอนละคร กลอนสักวา กลอนเสภา กลอนดอกสร้อย และกลอนขับร้อง ซึ่งแต่งขึ้นสําหรับใช้ขับร้องตามทํานองเพลง เช่น เทพทอง สมิงทอง ฯลฯ


3. กลอนเพลง หรือกลอนตลาด เป็นกลอนที่ไม่กําหนดคําตายตัวเหมือนกลอนสุภาพ ในวรรคหนึ่งๆ อาจจะมี 7 คําบ้าง 8 บ้าง หรือ 9 บ้าง เป็นกลอนที่นิยมใช้ ในการขับร้องว่าแก้กันทั่วๆไป จึงจะเรียกว่ากลอนตลาด แบ่งเป็นกลอนเพลงยาว กลอนนิราศ กลอนนิยาย และกลอนเพลงปฎิพากษ์ กลอนเพลงปฎิพากษ์ ยังแบ่ง ออกไปอีกหลายชนิดเช่น เพลงฉ่อย เพลงลําตัด เพลงเหย่ย เพลงพวงมาลา ฯลฯ เป็นต้น
ความไพเราะของกลอน
ความไพเราะอยู่ที่ความใช้ถ้อยคําและสัมผัสเป็นสําคัญ สัมผัสนั้นมีทั้งสัมผัสนอก ซึ่งเป็นสัมผัสบังคับ และสัมผัสในซึ่งมิใช่สัมผัสบังคับแต่ก็ถือกันว่าทําให้กลอน ไพเราะยิ่งขึ้น การกําหนดความไพเราะของกลอนมีดังนี้ คือ


1. คําสุดท้ายของวรรคหน้า บาทที่ 1 ใช้ได้ทั้ง 5 เสียง แต่กลอนสุภาพนิยม ใช้เสียงสามัญ คําสุดท้ายของวรรคหลัง บาทที่ 1 ห้ามเสียงสามัญ และถือว่า เสียงจัตวาไพเราะ คําสุดท้ายของวรรคหน้าบาทที่ 2 ห้ามเสียงจัตวา และห้าม เสียงซ้ำกับคําส่งสัมผัส คําสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ 2 ห้ามเสียงจัตวา เสียง
จัตวา เสียงอื่นใช้ได้หมด แต่ถือกันว่า เสียงสามัญไพเราะที่สุด


2. จังหวะของคํา แบ่งช่วงจังหวะดังนี้
กลอน 6 คํา จะเป็น 00 / 00 / 00
กลอน 7 คํา จะเป็น 00 / 00 / 000 หรือ 000 / 00 / 00
กลอน 8 คํา จะเป็น 000/ 00 / 000
กลอน 9 คํา จะเป็น 000 / 000 / 000
ระหว่างช่วงของจังหวะ นิยมสัมผัสในสัมผัสสระ เพื่อความไพเราะ


3. สัมผัสในของกลอนนิสมสัมผัสสระเป็นสําคัญ ส่วนสัมผัสอักษร หรือสัมผัส พยัญชนะเป็นสัมผัสประกอบ
4. สัมผัสนอก เป็นสัมผัสสระ นิสมส่งสัมผัสจากคําสุดท้ายของวรรคสลับมายัง คำที่ 3 ของวรรครับ และส่งจากคําสุดท้ายของวรรครองมายังคําที่ 3 ของ วรรคส่ง แต่บางครั้งอาจจะเลื่อนส่งสัมผัสไปยังคําที่

5 ก็ได้เช่นกันความต่างกันของกลอน กลอนทั้งหลายที่มีชื่อเรียกร้องต่างๆกันนั้นเพราะ
1. ใช้คําในวรรคหนึ่งๆมากน้อยกว่ากัน
2. มีบังคับให้ใช้คําขึ้นต้นและลงท้ายต่างกัน
3. จังหวะและทํานองในการอ่านและขับร้องต่างกัน


ลีลาของกลอน ลีลา หมายถึง ถ้อยคําสํานวนที่มีการดําเนินไปอย่างสง่าบรรจง โบราณจัดไว้ 4 ประเภทคือ
1. เสาวรจนี คือ ถ้อยคําชมโฉม
2. นารีปราโมทย์ คือ ถ้อยคําเล้าโลมหรือว่าเกี้ยวพาราสี
3. พิโรธวาทัง คือ ถ้อยคําขุ่นเคือง หรือตัดพ้อต่อว่า
4. สัลลาปังคพิสัย คือ ถ้อยคําครํ่าครวญรําพึงรําพัน

ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)


. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้

ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)

๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง

๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้
เอกโทษ
และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?

คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับ
อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้
คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ
และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด
(ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)

คำตาย คือ
1. คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โปีะ ฯลฯ
2. คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ


คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม
เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน

คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท "โคลง" และ "ร่าย"และถือว่าเป็นข้อ
บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้
เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า "โทโทษ"
ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า "เอกโทษ"

เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ


ตัวอย่างคำประพันธ์ที่นิยมท่องเป็นต้นแบบเพื่อง่ายต่อการจดจำแผนผัง

    เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
  ลิลิตพระลอ

I กลบท  I กลอนเปล่า  I กาพย์ยานี๑๑  I การเขียนเรื่องสั้น  I การเขียนร้อยแก้ว  I กลบทโคลงผวน  I กวีริมระเบียงบ้านเพื่อน I กลอนท่องวัยเรียน IIIIIII

                          
คลิ๊กนี้มีความหมาย
เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป