เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป  


 
 
เมนูสำหรับลูกค้า
 
เมนูสำหรับผู้ประกอบการ
 
ฝ่ายบริการลูกค้า
จันทร์-ศุกร์  09.30 - 15.00 น.

ยืนยันการโอนเงินและการเปิดเว็บไซต์
โทร 0878334416 หรือ 084-634-3454

ปัญหาการใช้งานเว็บไซต์
โทร 08-9887-8972 
 
E-mail Support  
[email protected]

.


เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป

ค้นหา
เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป
เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป


เจ้าพ่อพระปรง

 

ธารน้ำใส ไหลมา จากป่ากว้าง

ระยะทาง ยาวไกล ไม่ใช่น้อย

เลี้ยงผู้คน สองฝั่ง ล้างเพชรพลอย

ฝานแช่กอย ล้างเมา เอามากิน

 

พืชพันธุ์ปลา นาข้าว สาวชาวทุ่ง

อรุณรุ่ง ปรุงอาหาร ทานถือศีล

ตะวันลับ สลับดาว เคล้าเสียงพิณ

สดับยิน ถิ่นลำ น้ำพระปรง

 

มีด่านตั้ง หยั่งข้าม ตามลำห้วย

เพื่ออำนวย ช่วยพา พักพิงหลง

เป็นทหาร ชาญชัย ไทยมั่นคง

ท่านอยู่ยง คงกระพัน นานแรมปี

 

ชาวบ้านนา ศรัทรา ความกล้าหาญ

จึงตั้งศาล กราบไหว้ ให้ตรงนี้

ช่วยคนข้าม ฝั่งน้ำ ทันทวงที

ถ้าใครมี เรื่องร้อน อาทรความ

 

มาบนบาน ขานกล่าว เล่าความทุกข์

ไม่เป็นสุข โรคภัย เข้าไถ่ถาม

ปัดสะเดาะ เคาะห์ร้าย ได้ทุกยาม

คนจึงตาม กราบไหว้ ทั้งให้ทาน

 

คือเจ้าพ่อ พระปรง ดำรงมั่น

อยู่เป็นขวัญ กำลังใจ ช่วยภัยบ้าน

หลายร้อยปี ที่อยู่ คู่ตำนาน

คนกล่าวขาน ท่านหนอ เจ้าพ่อพระปรง

 

กล้าต้น อินระดา

 

            ประวัติเจ้าพ่อพระปรง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสระแก้วศรัทธา กับประเพณีแห่สรงน้ำ ที่สืบทอดมากว่า 30 ปี
เจ้าพ่อพระปรงมีนามเดิมว่า หลวงเดชาศิริ อดีตเป็นนายด่านรักษาการณ์อยู่ชายแดนเขตนี้ เป็นผู้มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว เป็นที่เคารพของบุคคลทั่วไป มีสหายคู่ใจคือ นายเสือกับนายสิงห์ ปัจจุบันเจ้าพ่อเสืออยู่ที่แควหนุมาน และเจ้าพ่อสิงห์อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อมีผู้มาอธิษฐานขอพรแล้วประสบความสำเร็จสมความปรารถนา จึงมีผู้คนให้ความเลื่อมใสศรัทธา ศาลเจ้าพ่อพระปรงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชนลุ่มน้ำบ้านหนองผูกเต่ามาอย่างยาวนาน ตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร (หมายเลข 33) สุดเขต อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ต่อกับเขต จ.สระแก้ว ริมแควพระปรง ซึ่งเป็นลำน้ำกั้นเขตแดนสองจังหวัด
เริ่มแรกศาลเจ้าพ่อพระปรงเป็นศาลไม้เล็กๆ ตั้งอยู่บริเวณริมแควพระปรง หมู่ที่ 8 บ้านหนองโดน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ริมถนนสายสุวรรณศร (สาย 33 เดิม หรือชาวบ้านเรียกว่าถนนเก่า) ชาวบ้านหนองผูกเต่ามีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อพระปรง จึงได้ร่วมกันบูรณะและกราบไหว้บูชา และถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านหนองผูกเต่าเป็นต้นมา ประเพณีมาเริ่มต้นเมื่อพระคำหล้า ขันติสาโร นายสมัย จันทวงษ์ และนายบุญรัตน์ เชื้อแก้วพร้อมด้วยชาวบ้านหนองผูกเต่า ได้ร่วมกันอัญเชิญเจ้าพ่อพระปรงมาประดิษฐานที่สี่แยกถนนเก่า (ถนนสายสุวรรณศร หมายเลข 33 เดิม) บริเวณหน้าบ้านของนายสมัย จันทวงษ์ เพื่อให้ประชาชนที่สัญจรไปมาขอพรอันศักดิ์สิทธิ์จากเจ้าพ่อพระปรง ร่วมสรงน้ำและบริจาคเงินในเทศกาลสงกรานต์ โดยนำเงินที่ได้มาซื้อสังกะสีมุงหลังคาศาลาการเปรียญวัดบ้านหนองผูกเต่า ตั้งแต่นั้นจึงกลายมาเป็นประเพณีของชุมชนเป็นต้นมา
จนถึงปีพ.ศ.2527 ผู้นำหมู่บ้านนำโดยนายบุญรัตน์ เชื้อแก้ว (ผู้ใหญ่บ้านขณะนั้น) พร้อมด้วยนายสมัย จันทวงษ์ นายสวาท และชาวบ้านส่วนหนึ่งมีความคิดเห็นว่าปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินได้ย้ายเส้นทางมาถนนสายใหม่ จึงร่วมกันย้ายศาลเจ้าพ่อพระปรงมาตั้งอยู่ ณ บริเวณสถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันจนถึงทุกวันนี้ สำหรับเงินบริจาคที่ได้จะนำมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดบ้านหนองผูกเต่าเป็นประจำทุกปีจนก่อสร้างพระอุโบสถสำเร็จ ในปี พ.ศ.2528 หลังจากนั้นคณะกรรมการได้แยกศาลเจ้าพ่อพระปรงออกจากวัดและคนในชุมชน มาดำเนินการที่ศาลเจ้าพ่อโดยตรง ภายใต้การจัดการของนายบุญรัตน์ เชื้อแก้วและคณะที่ผลัดเปลี่ยนเข้าร่วมดำเนินการ
เจ้าพ่อพระปรงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสระแก้วและจังหวัดใกล้เคียงนับถือเป็นอย่างมาก ในแต่ละวันจะมีประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา แวะสักการะกราบไหว้หรือไม่ก็บีบแตรยานพาหนะเป็นการคารวะ และในช่วงวันที่ 19 เมษายนหรือหลังเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะมีการสรงน้ำเจ้าพ่อพระปรง โดยในช่วงเช้าจะมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และทอดผ้าป่า จากนั้นช่วงสายๆ จะอัญเชิญเจ้าพ่อพระปรงมาตั้งบนรถที่ประดับดอกไม้ ริ้วผ้าสวยงาม
ในขณะที่ประชาชนจะมารอร่วมขบวนแห่ตั้งแต่เช้า จนถึงเวลาเคลื่อนขบวนที่จะมีรถยนต์จากที่ต่างๆ ทยอยมาสมทบตามระยะทางเรื่อยๆ จนเป็นขบวนแห่ยาวเป็นกิโล ซึ่งรถแต่ละคันจะบรรทุกคน ถังน้ำ เครื่องเสียง และเครื่องดนตรี เตรียมสรงน้ำเจ้าพ่อฯ ก่อนเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนานตลอดระยะทางกว่า 30 กิโลเมตรจนถึงศาลากลางจังหวัด โดยเฉพาะในตลาดสระแก้วจะมีประชาชนมาร่วมสรงน้ำเจ้าพ่อพระปรง ชาวสระแก้วจากทุกอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงนับหมื่นจะแห่มาเล่นน้ำส่งท้ายสงกรานต์ในงานวันไหลสระแก้ว โดยในระยะหลังนอกจากขบวนเจ้าพ่อพระปรงแล้วยังอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากวัดต่างๆ ในจังหวัดสระแก้วมาร่วมแห่ให้ประชาชนสรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย
ข้อมูลจากหนังสือ ตำนาน นิทานพื้นบ้านจังหวัดสระแก้ว เรื่องเล่า เล่าเรื่องเมืองสระแก้ว โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว



คลิ๊กนี้มีความหมาย
เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป เว็บไซต์สำเร็จรูป & เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป